ข่าวสารผักกาดขาว

ผักกาดขาว นับเป็นผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของประเทศไทย เนื่องจากมีผู้นิยมบริโภคอย่างแพร่หลาย ส่วนที่ใช้บริโภคคือ ส่วนของใบ ซึ่งมีลักษณะเป็นผืนเดียวกันตลอด มีก้านใบกว้างและแบน ผักกาดขาวนอกจากจะใช้บริโภคสด และประกอบอาหารได้หลายอย่างแล้วยังเป็นผักที่นำมาใช้แปรรูปเป็นผักตากแห้ง และกิมจิ ตลอดจนเป็นผักที่ใช้ในอุตสาหกรรมรูปอื่นๆ อีก


พันธุ์ผักกาดขาวจะมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะรูปร่างของปลี สำหรับพันธุ์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยแบ่งได้ 3 พวกใหญ่ๆ ตามลักษณะของปลี
1. พวกปลียาว ปลีมีลักษณะทรงสูง รูปไข่ ได้แก่ พันธุ์มิชิลีหรือผักกาดหางหงส์, ผักกาดโสภณ, ผักกาดขาวปลีฝรั่ง เป็นต้น
2. พวกปลีกลม ปลี มีลักษณะทรงสั้นและอ้วนกลมกว่าพวกปลียาว ได้แก่ พันธุ์ซาลาเดีย ไฮบริด, พันธุ์ทรอปิคคอล ไพรด์ ไฮบริด ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เบา มีอายุสั้น
3. พวกปลีหลวมหรือไม่ห่อปลี ส่วน มากเป็นผักพื้นเมืองของเอเชีย ผักกาดขาวพวกนี้มักไม่ห่อเป็นปลี สามารถปลูกได้แม้อากาศไม่หนาว ฝนตกชุก สำหรับความอร่อยน่ากินและการเก็บรักษาได้นานสู้ผักกาดขาวพวกเข้าปลีไม่ได้ ทำให้ปริมาณในปัจจุบันลดลง ได้แก่ พันธุ์ผักกาดขาวใหญ่ (อายุ 45 วัน) ผักกาดขาวธรรมดา (อายุ 40 วัน) เป็นต้น
พันธุ์ผักกาดขาวที่เกษตรกรนิยมใช้ได้แก่ ตราดอกโบตั๋น ตราช้าง ตราเครื่องบิน ตราเครื่องบินพิเศษ พันธุ์เทียนจินและพันธุ์เทียนจินเบอร์ 23 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทนร้อนได้ปานกลาง


ผักกาดขาวเป็นผักที่มีอายุปีเดียว ในประเทศไทยสามารถปลูกได้ตลอดปี แต่ปลูกได้ผลดีที่สุดอยู่ในช่วงเดือนตุลาคมถึงกุมภาพันธ์ ขึ้นได้ในดินเกือบทุกชนิด แต่ชอบดินร่วนที่มีการระบายน้ำดีและมีความอุดมสมบูรณ์สูง มีความเป็นกรดเป็นด่างๆ (pH) ของดินอยู่ในช่วงพอเหมาะประมาณ 6 - 6.8 ต้องการน้ำอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอเพื่อให้มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ และควรได้รับแสงแดดเต็มที่ตลอดวัน อุณหภูมิที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 15 - 22 องศาเซลเซียส


แปลงเพาะกล้า ทำ การไถดินบนแปลง แล้วตากดินทิ้งไว้ประมาณ 5 - 7 วัน หลังจากนั้นหว่านปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วให้มาก คลุกเคล้าให้เข้ากับดิน พรวนย่อยดินให้ละเอียดโดยเฉพาะผิวหน้าดิน ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดผักกาดขาวซึ่งมีขนาดเล็กตกในดินลึกเกินไป เมื่อปลูกโดยวิธีหว่าน
แปลงปลูก ทำ การไถดินหรือขุดดินให้ลึกประมาณ 30 เซนติเมตร ตากดินทิ้งไว้ประมาณ 7-10 วัน แล้วทำการไถพรวนดินอีกครั้ง ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วพร้อมกับคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน ถ้าดินเป็นดินทรายควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักให้มากขึ้น อัตราการใช้ประมาณ 2 ปี๊บต่อตารางเมตรหรือถ้าใช้มูลเป็ด ไก่ หรือสุกร ให้ลดปริมาณการใส่ลงมาเหลือตารางเมตรละ 1 ปี๊บก็พอ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ใส่กรณีที่ดินเป็นดินเปรี้ยวหรือดินเป็นกรดควรใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 40 กิโลกรัมต่อไร่


ระบบการปลูกผักกาดขาวในประเทศไทยสามารถทำได้ 3 แบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่นำมาปลูกและสภาพพื้นที่
1. แบบหว่านกระจายทั่วแปลง การปลูกแบบนี้ใช้ในกรณีที่ใช้พันธุ์ผสมทั่วๆ ไปมาปลูก เมล็ดพันธุ์มีราคาไม่แพง และโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้าง มีร่องน้ำ
2. แบบแถวเดียว เหมาะสำหรับการปลูกแบบโรยเป็นแถวหรือย้ายกล้า กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง ในท้องที่ที่ปลูกผักแบบไร่
3. แบบแถวคู่ เหมาะสำหรับการปลูกแบบหยอดเมล็ดหรือย้ายกล้า กรณีใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง เช่น ในเขตท้องที่ภาคเหนือที่นิยมยกแปลงปลูกแคบ
สำหรับระยะปลูกที่เหมาะสมสำหรับปลูกผักกาดขาวในประเทศไทยก็คือ ระหว่างแถว 50 เซนติเมตร และระหว่างต้น 50 เซนติเมตร

การปลูกผักกาดขาวสามารถทำได้ 2 วิธีด้วยกันคือ การปลูกลงบนแปลงปลูกโดยตรง และการปลูกโดยการเพาะกล้าก่อนแล้วย้ายไปปลูกในแปลงปลูก จะเลือกใช้วิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสะดวกและความเหมาะสมของปัจจัยของ เกษตรกรเอง เช่น แรงงาน ลักษณะของแปลง และจำนวนเมล็ดพันธุ์ เป็นต้น
การปลูกลงบนแปลงปลูกโดยตรง การปลูกผักกาดขาวด้วยวิธีนี้มี 2 แบบ คือ
1. แบบหวานโดยตรง โดย การหว่านเมล็ดพันธุ์ให้กระจายทั่วทั้งแปลง ซึ่งการปลูกแบบนี้เหมาะสำหรับกรณีที่เมล็ดพันธุ์มีราคาไม่แพง และโดยเฉพาะในท้องที่ภาคกลางที่ยกแปลงกว้าง มีร่องน้ำ การหว่านควรหว่านให้เมล็ดกระจายสม่ำเสมอ โดยทั่วไปนิยมผสมพวกทรายหรือเมล็ดผักที่เสื่อมคุณภาพแล้วที่มีขนาดพอๆ กันลงไปด้วย เพื่อให้เมล็ดพันธุ์กระจายได้สม่ำเสมอยิ่งขึ้น จากนั้นใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหว่านทับลงไปหนาประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร เพื่อช่วยรักษาความชื้น เสร็จแล้วจึงคลุมด้วยฟางแห้งสะอาดบางๆ อีกชั้นหนึ่งรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียดให้ทั่วถึงสม่ำเสมอ หลังจากต้นกล้างอกและมีใบจริง 1-2 ใบควรถอนแยกเพื่อจัดระยะปลูกและถอนแยกครั้งสุดท้ายไม่ควรปล่อยให้กล้ามีอายุ เกิน 25-30 วัน โดยจัดระยะปลูกระหว่างต้นและระหว่างแถวประมาณ 50 x 50 เซนติเมตร
2. แบบปลูกเป็นแถวหรือหยอดเป็นหลุม โดย การหยอดเมล็ดให้เป็นแถวบนแปลงปลูก โดยให้ระยะระหว่างแถวห่างกัน 50 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลึกประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร หรือทำเป็นหลุมตื้นๆ หยอดเมล็ดลงประมาณ 3-5 เมล็ด ใช้ดินกลบให้หนา 1/2 เซนติเมตร ใช้หญ้าแห้งหรือฟางคลุมบางๆ รดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด เมื่อต้นกล้าเริ่มมีใบจริง 2 ใบให้ ทำการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ให้ได้ระยะต้นในแต่ละแถวเท่ากับ 50 เซนติเมตร และถอนแยกครั้งสุดท้ายอายุไม่ควรเกิน 30 วัน
การปลูกโดยการเพาะกล้าแล้วย้ายกล้าไปปลูก การปลูกผักกาดขาวด้วยวิธีนี้จะประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้มาก โดยเฉพาะถ้าเป็นการปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมที่มีราคาแพง
หลังจากเตรียมดินแปลงเพาะกล้าเรียบร้อยแล้ว ให้หว่านเมล็ดให้ทั่วพื้นผิวแปลง แล้วใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้วหว่านกลบให้หนาประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร หรืออาจใช้วิธีหยอดเมล็ดเป็นแถวห่างกันแถวละประมาณ 5-10 เซนติเมตร ลึกลงไปในดินประมาณ 1/2 - 1 เซนติเมตร เมล็ดควรโรยให้ห่างกันพอสมควร แล้วหว่านกลบด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักหรือดินผสมแล้วรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด ให้ทั่วแปลง คลุมแปลงด้วยหญ้าแห้งหรือฟางสะอาดบางๆ เพื่อช่วยเก็บรักษาความชื้นในดินและป้องกันการกระแทกของน้ำต่อเมล็ดและต้น กล้าที่ยังเล็กอยู่
เนื่องจากกล้าผักกาดขาวค่อนข้างอ่อนแอ ดังนั้นควรย้ายชำลงถุงพลาสติกหรือกระทงก่อนเมื่อกล้าอายุประมาณ 20-25 วัน จากนั้นหมั่นดูแลรักษาและป้องกันโรคแมลงที่อาจเกิดขึ้น ก่อนการย้ายกล้าลงปลูกในแปลงควรทำให้กล้าแข็งแรง โดยการนำต้นกล้าออกตากแดดบ้าง อายุกล้าที่เหมาะสมในการย้ายปลูกคือ 30-35 วัน ไม่ควรใช้กล้าที่มีอายุมากเกินป การย้ายกล้าไปปลูกควรย้ายในช่วงบ่ายๆ ถึงเย็น หรือช่วงที่อาศมืดครึ้ม นำต้นกล้าปลูกในแปลงปลูกที่เตรียมไว้แล้ว โดยใช้ระยะห่างระหว่างต้นและระหว่างแถว 50 x 50 เซนติเมตร หลังจากปลูกเสร็จแล้วใช้ฟางหรือหญ้าแห้งคลุมดินอีกชั้นหนึ่ง เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินและผักตั้งตัวได้เร็ว แล้วรดน้ำด้วยบัวฝอยละเอียด
การปลูกด้วยวิธีการเพาะกล้าก่อนนำไปปลูกนี้จะทุ่นค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าปุ๋ย และปลูกได้เป็นระเบียบสวยงาม การดูแลและทำงานได้ปราณีตขึ้นทำให้ได้ผลผลิตดีขึ้น ทุ่นเวลาและแรงงานที่จะดูแลรักษาในขณะที่ยังเป็นต้นกล้าอยู่ แต่ในเวลาย้ายปลูกจะต้องใช้แรงงานมากในการปลูกให้รวดเร็ว


การให้น้ำ ผัก กาดขาวต้องการน้ำมากและสม่ำเสมอเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตตลอดฤดูปลูก ดังนั้นควรให้น้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ โดยในระยะแรกเมื่อผักกำลังงอกควรให้น้ำวันละ 3-4 ครั้ง เพื่อให้หน้าดินอ่อนสะดวกแก่การงอกของเมล็ด เมื่อผักมีอายุเกิน 7 วันไปแล้ว ก็ลดลงเหลือให้วันละ 3 ครั้ง พออายุเกิน 1 เดือนไปแล้วให้น้ำเพียงวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น ไม่ควรให้น้ำในเวลาสายๆ ที่แดดจัดเพราะน้ำอาจร้อนทำให้ผักกาดขาว ซึ่งบางเสียหายได้ง่าย การให้น้ำควรใช้บัวรดน้ำหรือฉีดพ่นเป็นฝอยด้วยเครื่อง แต่อย่าให้ฉีดแรงนัก เพราะอาจจะเป็นอันตรายต่อผักได้ การให้น้ำผักกาดขาวระยะที่ควรระวังที่สุดก็คือ ในช่วงที่ผักกาดขาวกำลังห่อปลีไม่ควรให้ขาดน้ำอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การห่อปลีและการเจริญเติบโตไม่สมบูรณ์
การใส่ปุ๋ย เนื่อง จากผักกาดขาวเป็นผักกินใบ ดังนั้นควรเลือกใช้ ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ตราบัวทิพย์ สูตรที่ 2 จึงจะเหมาะสม โดยให้ในอัตราประมาณ 80-150 กิโลกรัมต่อไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินและปริมาณปุ๋ยคอกที่ใช้ โดยแบ่งใส่เป็น 2 ครั้ง คือ ครั้งแรกใส่เป็นปุ๋ยรองพื้นจำนวนครั้งหนึ่ง โดยใส่ตอนเตรียมดินปลูก และครั้งที่ 2 ใส่เมื่อผักกาดขาวมีอายุ 20 วัน
สำหรับผักกาดขาวพันธุ์ปลียาวและปลีกลมควรให้ปุ๋ยไนโตรเจน เช่น ยูเรียหรือแอมโมเนียมไนเตรท ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่เมื่อกล้าอายุได้ 30-40 วัน โดยการหว่านหรือโรยข้างต้นก็ได้ แล้วรดน้ำตามทันที แต่ระวังอย่าให้ปุ๋ยตกค้างอยู่ที่ใบเพราะจะทำให้ใบไหม้


อายุการเก็บเกี่ยวของผักกาดขาวนั้น ไม่แน่นอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะประจำพันธุ์ของแต่ละพันธุ์คือ พันธุ์ที่เข้าปลีหลวมๆ มีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 40-50 วัน หลังจากหว่านเมล็ด โดยเลือกเก็บเกี่ยวต้นเริ่มแก่เต็มที่ได้ขนาด สำหรับพันธุ์ปลียาวและปลีกลมมีอายุการเก็บเกี่ยวประมาณ 50-80 วันหลังจากหว่านเมล็ด โดยเก็บขณะที่ปลีห่อแน่นเต็มที่ก่อนที่ปลีจะเริ่มคลายตัวหลวมออก
วิธีการเก็บเกี่ยวโดยใช้มีดคมๆ ตัดที่โคนต้น แล้วตัดแต่งใบที่เป็นโรคถูกแมลงทำลายออกบ้างพอสมควร แต่ไม่มากนัก ควรเหลือใบนอกๆ ไว้สัก 2-3 ใบ เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง

กาดขาวปลี
ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica rapa var. pekinensis (Lour) Olsson. จัดอยู่ในตระกูล Brassicaceae เป็นผักพื้นเมือง ในแถบ เอเชียตะวันออก เป็นพืช อายุสองปี แต่นิยมปลูก เป็นพืช ล้มลุกปีเดียว มีถิ่นกำเนิด ทางตอนเหนือ ของประเทศจีน มีระบบรากแก้ว แต่ตื้น ลำต้นสั้น ไม่มีกิ่งแขนง ใบมีสีเขียวอ่อน ลักษณะเป็น ผืนเดียวตลอด กาบใบหรือ ก้านใบกว้าง แบน มีสีขาว กรอบ มีน้ำมาก ใบจะห่อคล้ายปลี อาจแน่น หรือหลวม ขึ้นกับสายพันธุ์ จะเริ่มห่อหัว เมื่อมี ใบจริง 12-15 ใบ

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการปลูก
ผักกาดขาวปลี เป็นพืชผักเมืองหนาว ต้องการความหนาวเย็น ในการเจริญ อุณหภูมิ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต อยู่ระหว่าง18-20′C การปลูก ในสภาพอุณหภูมิสูงกว่า 25′C จะส่งผลให้ห่อหัวช้า คุณภาพต่ำ เข้าปลีหลวม มีรสขม การเพาะกล้าหรือ ย้ายกล้าปลูก บนพื้นที่สูง ในช่วงฤดูหนาว หรือสภาพอากาศเย็น อุณหภูมิต่ำจะกระตุ้น ให้แทงช่อดอกเร็วขึ้น ดังนั้นควรเลือก ใช้พันธุ์ที่เหมาะสม

ดิน ที่เหมาะสมต่อการปลูก ควรเป็นดินที่ร่วนซุย มีความอุดมสมบูรณ์สูง pH 6.0-6.5 การเตรียมดิน ควรขุดให้หน้าดินลึก การระบายน้ำ และอากาศดี ควรให้น้ำอย่างพอเพียง และสม่ำเสมอ และได้รัีบแสงแดดอย่างเต็มที่ ตลอดทั้งวัน

การใช้ประโยชน์และคุณค่าอาหาร 
ผักกาดขาวปลี ประกอบไปด้วยคุณค่าทางอาหาร หลายชนิด เช่น ฟอสฟอรัส วิตามินเอ และวิตามินซี ค่อนข้างสูง มีกรดโฟลิค (folic acid) ที่มีบทบาทควบคุม ความเป็นปกติ ของทารกในครรภ์มารดาระยะ 3 เดือนแรก และช่วยกระบวนการ สังเคราะห์ สารพันธุกรรม DNA ทำให้เม็ดเลือดแดง แข็งแรง ถ้ามีกรดโฟลิค ไม่เีพียงพอ อาจทำให้ทารกพิการได้ โดยกระดูกสันหลังปิด ไม่สนิท นอกจากนี้ ผักกาดขาวปลี ยังช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ แก้ไอ ขับเสมหะ และแก้พิษสุรา

สามารถนำมาประกอบอาหาร ได้หลายชนิด เช่น ใส่ซุป ผัด ทำแกงจืด จิ้มน้ำพริก และยังสามารถ นำมาแปรรูปเป็นผักตากแห้ง ทำกิมจิ (ผักดองเกาหลี) ผักกาดดอง หรือนำมาตกแต่งจานอาหาร

การปฏิบัติดูแลรักษาระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
การเตรียมกล้า เพาะกล้าในถาดหลุม เพราะจะทำให้การเข้าปลีดีขึ้น ในช่วงฤดูฝน อาจใช้การหยอดเมล็ดได้ หากเป็นฤดูร้อน ควรเพาะในถาดหลุม อายุกล้าไม่ควรเกิน 21 วัน
ข้อควรระวัง

การหยอดเมล็ดไม่ควรเกินหลุมละ 2 เมล็ด
ช่วงเพาะกล้าควรมี การฉีดพ่นธาตุอาหารเสริม และโบรอนด้วย
การเตรียมดิน ขุดดินตากแดด อย่างน้อย 14 วัน เพื่อกำจัดโรค แมลงและวัชพืช ใส่ปูนขาวอัตรา 0-100 กรัม/ตร.ม. ทิ้งไว้ประมาณ 10 วัน ใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 12-24-12 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. และปุ๋ยคอกอัตรา 1 กก./ตร.ม. เก็บเศษวัชพืชออกขึ้นแปลง ขนาด 1 ม.

การปลูก



ข้อควรระวัง
ช่วงการเจริญเติบโต ระวังธาตุโบรอน ซึ่งจะแสดงอาการ กาบใบแตกเป็นรอยดำ หากเปียกจะเกิดโรคเน่าเละ และจำหน่ายไม่ได้ โดยฉีดพ่นทุก 10 วัน หลังจากย้ายปลูก
ระวังโรคใบจุด ที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp. ที่สามารถระบาด ได้อย่างรวดเร็ว และทำให้ใบเป็นจุดเล็กๆ ไม่สามารถจำหน่ายได้ ระวังการแทงช่อดอก ในช่วงอากาศเย็นโดยเฉพาะต้นกล้าที่ได้รับความเย็นจัดนานๆ เมื่อนำไปปลูกจะทำให้ แทงช่อดอก ได้ง่ายไม่เข้าหัว ไม่ควรปลูกซ้ำที่เดิม ในช่วงฤดูร้อน ควรให้น้ำโดยการปล่อยเข้าแปลง หากขาดน้ำ พืชจะชะงักการเจริญเติบโต มีผลต่อการเข้าปลี


การให้น้ำ ให้แบบสปริงเกอร์ หรือตามร่อง ทุก 1-2 วัน/ครั้ง

การให้ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. หรือ 46-0-0 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. หลังย้ายปลูก 15-20 วัน และ 13-13-21 อัตรา 30 กรัม/ตร.ม. หลังย้ายปลูก 25-30 วัน โดยให้มีการกำจัดวัชพืช พร้อมกับการให้ปุ๋ย

การเก็บเกี่ยว

เก็บเกี่ยวเมื่อมีขนาด และอายุ เหมาะสมพอดี ห่อปลีแน่น ใช้มีดตัดโคนต้น แล้วทาปูนแดงที่รอบตัด
ควรให้มีใบนอกเหลือ 2-3 ใบ
ฝึ่งให้แห้ง จัดมาตรฐาน และกำจัดหัวที่เน่า หรือถูกแมลงทำลาย
โรคแมลงศัตรูที่สำคัญในระยะต่างๆของการเจริญเติบโต
ระยะกล้า 18-21 วัน ช่วงนี้ไม่ค่อยมีโรคแมลงรบกวน

ระยะย้ายปลูก-ตั้งตัว 21-28 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, ด้วงหมัดผัก, หนอนกระทู้ดำ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,

ระยะเข้าหัว 28-55 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าเละ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,

ระยะโตเต็มที่ 55-56 วัน โรคราน้ำค้าง, โรคใบจุด, โรคเน่าเละ, หนอนใยผัก, หนอนคืบ, หนอนกระทู้,
ผมเองก็ได้ สอบถามแม่บ้านและคนทั่วไปว่า รู้จักตั้งโอ๋มั้ย? ต่างก็บอกว่ารู้จัก แล้วก็หยิบขึ้นช่ายขึ้นมาอวดว่านี่ไง! ตั้งโอ๋! ผมจึงอยากเอารูปมาให้ดูว่า ตั้งโอ๋มันไม่เหมือนกับขึ้นช่ายชัวร์ ฟันธง! คนละชนิดกันเลยครับ

การ ใช้ประโยชน์ของผักตั้งโอ๋ คือใช้เหมือนผักคะน้าหรือผักตำลึง คือนำมาผัดหรือต้มกิน อร่อยมาก และหาซื้อค่อนข้างยาก ราคาค่อนข้างแพงกว่าผักที่ใช้กินเป็นผักทั่วๆไป แม่ค้าผักทั่วๆไปจึงไม่ค่อยนำมาขาย

ส่วนขึ้นช่าย มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ครับ


ขึ้นฉ่าย เป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัว ลักษณะลำต้นและใบคล้ายผักชีแต่ใหญ่กว่า ใบเป็นใบประกอบ ขอบใบหยัก มีลักษณะเป็นแฉกรูปร่างคล้ายมือ ก้านใบอวบหนา ดอกมีสีขาวขนาดเล็ก ออกเป็นช่อ ก้านดอกคล้ายซี่ร่ม ผลมีขนาดเล็กขาว ภายในมี 1 เมล็ด เมื่อผลสุกเต็มที่จะแตกออกเป็น 2 ซีก ขึ้นฉ่ายที่พบมีอยู่ 2 พันธุ์ พันธุ์ฝรั่งเรียกว่าเซลเลอรี (Celery) ซึ่งมีลำต้นอวบใหญ่และมีสีอ่อนกว่าพันธุ์จีนที่เรียกว่าเซเลอริค (Celeric)

ผล ของขึ้นฉ่ายเมื่อนำมากลั่นด้วยไอน้ำให้น้ำมันหอมระเหย ซึ่งประกอบด้วยสารดี-ไลโมนีน (d-Limonene) ซีลินีน (Selinene) และสารจำพวกธาไลเดส (Phthalides) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดกลิ่นเฉพาะตัว นอกจากนี้ยังพบสารอื่นอีกหลายชนิด แต่พบในปริมาณน้อย เช่น แซนตารอล (Santalol) ยูเดสมอล (Eudesmol) ไดไฮโดรคาร์โวน (Dihydrocarvone) และกรดไขมัน เป็นต้น

ส่วนในชันน้ำมัน (Oleoresin) จะมีสารที่ทำให้เกิดกลิ่นฉุน โดยมีสารจำพวกเทอร์ฟีน (Terpene) ในปริมาณต่ำ นอกจากนี้ยังมีสารอะพิอิน (Apiin) สารจำพวกฟลาโวนอย (Flavonoids) และคุณค่าทางสารอาหาร เช่น เบต้า-แคโรทีน (Beta-Carotene) เกลือแร่ แคลเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาสูง

สรรพคุณ สรรพคุณเด่นของต้นและใบขึ้นฉ่ายคือ ช่วยขยายหลอดเลือด ลดความดันโลหิตโดยอาจจะรับประทานเป็นผักหรือนำมาคั้นน้ำรับประทาน ส่วนสรรพคุณที่รองลงมาคือ ทำให้เจริญอาหารช่วยขับปัสสาวะและรักษาโรคทางเดินติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ช่วยบำรุงประสาทให้มีความจำดี บำรุงกระดูกและฟัน ซึ่งเหมาะสำหรับสตรีมีครรภ์และเด็กที่เป็นโรคกระดูกอ่อน เพราะมีแคลเซียมสูง นอกจากนี้ยังมีวิตามินซีซึ่งช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค และมีเบต้า-แคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านออกซิเดชั่น ส่วนรากใช้รักษาโรคเกาท์ และอาการปวดตามข้อ เมล็ดช่วยในการขับลม บำรุงธาตุ

วิธีใช้ในการ ประกอบอาหาร ต้นและใบสดใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสของอาหาร เช่น ใช้ดับกลิ่นคาวในข้าวต้มปลา ปูผัดผงกะหรี่ ปลาจะละเม็ดนึ่งบ๊วย ผัดปลาช่อนทอดกรอบ แกงจืดเต้าหู้อ่อน ยำหมูยอหรือผัดกับน้ำมัน นอกจากนี้ยังทำเป็นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยนำใบและต้นมาคั้นน้ำดื่ม ส่วนเมล็ดและน้ำมันหอมระเหยใช้แต่งกลิ่นอาหาร แต่งกลิ่นเครื่องดื่ม ทั้งที่มีแอลกอฮอล์และไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งขนมหวานบางชนิด

ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง

1. ขึ้นฉ่ายเหมาะสำหรับนำมาปรุงอาหารให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เพราะมีสารโซเดียมน้อย

2. สามารถรับประทานขึ้นแายสดเพื่อควบคุมน้ำหนักได้เพราะให้พลังงานต่ำ

3. มีรายงานจากการทดลอง พบว่า การรับประทานขึ้นแายในปริมาณมากและติดต่อกันหลายวัน จะมีผลให้ตัวอสุจิลดลงถึงร้อยละ 50 ซึ่งเป็นการคุมกำเนิดด้วยวิธีธรรมชาติแบบชั่วคราวอีกวิธีหนึ่ง แต่ต้องใช้ร่วมกับการคุมกำเนิดโดยวิธีอื่นด้วย และหลังจากหยุดรับประทาน เชื้ออสุจิก็จะมีจำนวนตามปกติ

4. ในบางรายอาจมีการแพ้จากการสัมผัสต้นขึ้นฉ่ายจนถึงขั้นรุนแรงได้ และพบว่าสารสกัดจากต้นขึ้นฉ่ายช่วยเร่งให้สีผิวเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลมากขึ้น

5. เมล็ดขึ้นฉ่ายเมื่อนำมาสกัดด้วย Petroleum ether จะได้สารที่ช่วยไม่ให้น้ำมันมีกลิ่นเหม็นหืน

6. สามารถป้องกันโรค silicosis (โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากการสูดฝุ่นที่มีส่วนประกอบของซิลิ ก้า) ได้

7. ไม่ควรผัดหรือต้มขึ้นฉ่ายให้สุกนานเกินไป เพราะจะทำลายวิตามินและเกลือแร่ที่มีอยู่ให้หมดไป

8. น้ำมันขึ้นฉ่าย ใช้แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง ครีม สบู่ ยาทาผิว

ข้อมูลขึ้นช่ายจาก โหระพา.คอม

ส่วน ตัวผม ผมชอบกินขึ้นช่ายมากกว่าผักชีต้นหมอมาก ผมว่าอร่อยกว่าเยอะ แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้ผักชีต้นหอมใส่แกงจืดกันมากกว่า ลองเปลี่ยนมาใช้ขึ้นช่ายแทนสิครับ รับรองจะติดใจในรสชาติของน้ำซุปที่ดีกว่าการใช้ผักชีต้นหอมมากครับ

ขึ้น ช่ายสามารถใช้แทนผักชีต้นหมอได้ดี ในการโรยหน้าแกงจืด หรือแกงจำพวกพะโล้ หรือนำมาใส่ในยำต่างๆได้ดีทุกชนิด

ต่อไปนี้หากใครจะซื้อขึ้นช่าย ก็อย่าไปเรียกว่า ตั้งโอ๋ เลยนะครับ เพราะมันเป็นข้อมูลที่ผิด และจะเป็นการเผยแพร่ข้อมูลที่ผิดต่อๆไปอีกครับ


ไม่มีความคิดเห็น: